วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นพัฒนา    ตรงตามมาตรฐาน    ประสานงานคุณภาพ
พันธกิจ
ส่งเสริมให้บุคลากรทุกหน่วยงาน  และนักศึกษาเข้าใจกระบวนการประกันคุณภาพและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการทำงาน
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีคุณธรรม สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
ยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาระบบและกลไกด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบและกลไก กำกับ ติดตาม และส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในและภายนอกให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพของแต่ละระดับส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในการบริหารจัดการ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนได้รับทราบ
นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
1. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของ การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยกำหนดให้มีการดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ การประเมิน และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. กำหนดให้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย กระจายสู่ระดับคณะ สำนัก เพื่อสร้างวัฒนธรรมดำเนินงานที่มีคุณภาพ
3. พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่สามารถสะท้อนคุณภาพการปฏิบัติงาน 
ตามนโยบาย เป้าหมาย พันธกิจ และภารกิจของมหาวิทยาลัย สามารถกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน การพัฒนาการดำเนินงานและผลผลิตทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย
4. ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร 
ในการดำเนินงานประกันคุณภาพทางการศึกษา
5. นำระบบและการจัดการความรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร
6. ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลและเผยแพร่ผลงานตามพันธกิจของระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
7. เปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8. ส่งเสริมให้ คณะ สำนัก และสถาบัน สร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานภายในและภายนอก
ระบบและกลไกด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
1. ให้มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) อันประกอบไปด้วย ระบบการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน
2. ให้มีการดำเนินงานการประกันคุณภาพในระดับสำนักและหน่วยงานเทียบเท่าคณะ โดยใช้ตัวบ่งชี้ตามกรอบการประเมินที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ
3. มีคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินการควบคุม การตรวจสอบ การประเมิน และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
4. มีการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และเผยแพร่ข้อมูลด้านประกันคุณภาพการศึกษา
สู่ระดับ คณะ สำนัก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5. มีการจัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ตามกรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาที่อนุมัติตามสภามหาวิทยาลัย
6. มีการประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมให้ความรู้การประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
7. มีการเผยแพร่ข้อมูลของมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องการประกันคุณภาพการศึกษา สู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้
8. มหาวิทยาลัย คณะ สำนัก มีการสร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานภายใน
และภายนอก
9. ให้มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับ หลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบันให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ดังนี้
ระดับหลักสูตรให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พฤษภาคม
ระดับคณะ และสำนัก ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน
ระดับสถาบัน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน กรกฎาคม
10. มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 
และรองอธิการบดี (ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา) เป็นผู้กำกับและดูแลการดำเนินงานต่าง ๆ ตามประกาศนี้
11. ให้รายงานผลการดำเนินงานผลผ่านระบบ CHE QA Online ภายในเวลาที่กำหนดดังนี้
ระดับคณะภายใน 90 วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา
ระดับสถาบัน ภายใน 120 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา